วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

หนังสือผมเองครับ ห้าๆ

ผมชอบอ่านหนังสือ แนว HOT TO / จิตวิทยา / การพัฒนาตนเอง 
แล้วนำไปฝึกฝนใช้กับชีวิตๆตนเอง ทำให้ชีวิตดีขึ้นไปเรื่อยๆครับ 
หาซื้้อหาอ่านกันดูนะครับ


 




 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคง่ายๆในการอ่านหนังสือให้รวดเร็ว และ เข้าใจ


อ่านหนังสือ ใครหลายคนได้ยินคำนี้ ถึงกับส่ายหัว
เพราะการอ่านหนังสือเป็นของไม่ถูกโรคกัน
บางคนถึงขั้นคิดว่า จะอ่านหนังสือ ก็เครียดแล้ว
อีกบางคน แค่เริ่มอ่าน อาการง่วงหงาวหาวนอน
ก็จะรีบมาเยือนเราในทันที ยิ่งเป็นตำรับตำรา
เป็นหนังสือเรียน หนังสือวิชาการ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
แต่หากเป็นนิยายหรือการ์ตูนแล้วล่ะก้อ
อ่านหลายชั่วโมง หรือ อ่านทั้งวันก็ไม่หลับ จริงไหมครับ
.....
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่
ไม่ว่าจะเป็นระดับมัธยม ปริญญาตรี โทหรือเอก
และไม่ว่า จะเป็นคณะหรือสาขาวิชาใดก็ตาม
โดยเฉพาะหากเป็นคณะที่ต้องอ่านหนังสือมากๆ
เช่น คณะนิติศาสตร์ หรือ คณะศึกษาศาสตร์
การอ่านหนังสือถือเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย
.......
คำถามก็คือ ต้องอ่านหนังสืออย่างไร

อ่านกี่รอบล่ะ ถึงจะเข้าใจหรือจำได้
จะว่าไป เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิควิธีของแต่ละคนครับ
ไม่มีมาตรฐานว่า ต้องอ่านสองหรือรอบสามรอบ
บางคนอ่านรอบเดียวเข้าใจเลยก็มีให้เห็นอยู่มาก
แต่บางคนต่อให้อ่านหลายรอบก็ยังไม่เข้า(หัวสักที
......
โดยหลักมาตรฐานของคนปกติทั่วไปที่เรียนดีแล้ว
เขาจะอ่านหนังสือควรอ่านประมาณสามรอบครับ
(โปรดใช้วิจารณญาณในมาตรฐานที่บอกนี้
เพราะขึ้นอยู่กับเทคนิคและสไตล์ของแต่ละคน)
.
อ่านรอบแรก ไม่ต้องจดจำ ไม่ต้องขีดเส้นใต้
หรือ เน้นข้อความใดๆทั้งสิ้น แค่อ่านผ่านๆให้พอเข้าใจ
รอบสอง จะเน้นข้อความหรือขีดเส้นใต้ในหัวข้อสำคัญ
ส่วนรอบสาม แม้จะต้องอ่านอย่างละเอียดและเข้าใจ
แต่เนื่องจากผ่านตามาพอสมควรแล้ว
จะทำให้การอ่านในรอบนี้ชัดเจนแจ่มเเจ้งและเข้าใจ
และควรสกัดหัวข้อหรือหลักเพื่อเตรียมสอบด้วยครับ

หลายคนทำแบบนี้แล้วได้ผลดีเลิศทีเดียวเชียวครับ
ก็อย่างว่า พูดน่ะง่าย แต่สำหรับบางคนนั้นไม่ง่ายเลย
โดยเฉพาะคนที่ทำงานไปเรียนไป จะทำอย่างไร
ลำพังหาเวลาอ่านรอบเดียว ก็แสนจะยากเย็นอยู่แล้ว
แต่สำหรับคนที่เป็นหนอนหนังสือ คนที่รักการอ่าน
และฝึกฝนการอ่านอยู่อย่างสม่ำเสมอ ก็ไม่ยากนัก

เทคนิคง่ายๆ ก็คือ ต้องฝึกอ่านให้เร็วขึ้นครับ
หลายคนอ่านช้า เพราะอ่านไปคิด(มาก)ไป
หรือไล่สายตาอ่านจากซ้ายไปขวา วนไปวนมา
...
วิธีอ่านให้รวดเร็วก็คือ ให้ฝึกอ่านโดยวางสายตา
ไปที่กลางประโยคหรือบรรทัดที่เราจะอ่าน
คือ อ่านในภาพรวมของประโยคหรือบรรทัดนั้นๆ
และหากเราอ่านได้วิธีนี้ได้สักพัก เราจะชินกับการอ่านเร็ว
และจับใจความหรือจับเป็นเด็นในประโยคนั้นได้เอง

ว่ากันว่า มีบางคนฝึกฝนจนเป็นนักอ่านขั้นเทพ
คืออ่านได้เร็วมาก เพราะเขาไม่ได้วางสายตาทีละบรรทัด
เขาวางสายตาไปที่กลางเนื้อเรื่องและจับประเด็นได้อย่างเข้าใจ
แต่จะทำได้ก็ต้องมีการฝึกฝนและมีสมาธิอย่างมาก
.....
นี่แหละครับ เทคนิควิธีการอ่านให้รวดเร็วขึ้น
ก็ลองนำไปปรับใช้กับวิธีการอ่านของแต่ละคนกันนะครับ
วันพุธเอง แม้จะนับว่าเป็นคนชอบอ่านหนังสือ
เข้าขั้น หนอนหนังสือ ตัวหนึ่ง (เอ๊ย คนหนึ่ง)
และถือว่าเป็นคนอ่านหนังสือเร็วใช้ได้คนหนึ่ง
แต่เหนือฟ้าก็ยังมีฟ้า มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำมา
รวมถึงอ่านตำราเกี่ยวกับการฝึกฝนการอ่านให้เร็วขึ้น
ซึ่งก็ยังมีอีกหลายเทคนิควิธี ที่นำไปปรับใช้ได้เหมือนกัน

ก็อย่างว่าล่ะครับ ยุคนี้เป็นยุคแห่งความเร็ว
แม้ว่า บางเรื่อง ความเร็วก็เป็นผลเสียได้เช่นกัน
เพราะทำให้เราขาดความละเอียด ขาดความรอบคอบ
แต่ในหลายเรื่อง ความเร็วก็ทำให้เราได้เปรียบอยู่ไม่น้อย

ก็ขอให้ทุกท่าน มีความสุขกับการอ่านหนังสือ
ได้ประโยชน์กันถ้วนหน้าจากการเรียนรู้กันทุกคน….นะครับ
ทีมา kritwat - talk

อ่านหนังสืออย่างไรให้จำแม่น


โดยเคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่ายๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ 
       1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อยๆ คือเราจะหยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
      2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
      3. หากตอนใดเราอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
      4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
      5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตรต่างๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
      6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำ โดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
      7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆไม่ชัดเจน คลุมเครือ
      8. ดังนั้นควรมีเทคนิคง่ายๆ สั้นๆ ดังต่อไปนี้
      ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง          
 ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริงๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
 
เคล็ดลับ การเรียนเก่ง 

1.คุมเวลาตื่นนอนให้ได้ทุกวันก่อนครับ.
เช่น ตื่น 6 โมงเช้านอน 4 ทุ่ม ซัก 1 เดือนติดต่อกัน  
ให้ได้ก่อนค่อยมาว่าจะอ่านหนังสือครับ.  
เพราะจะเป็นการจัดระบบมันสมองใด้อย่างดีเยี่ยม  
และจะรู้สึกว่าสมองมีพลังในการรับรู้ครับ.  
ถ้าทำข้อนี้ไม่ได้ อย่าคิดว่าจะเรียนให้ดีได้ยากครับ.

2. หลักการอ่านหนังสือใด ๆ ไม่จำเป็นต้องอ่านทีละนาน ๆ ครับ.
เช่นตั้งไว้ว่า วันนึง เราจะ อ่านซัก 1 - 2 ชม.ก็เกินพอครับ.  
แต่สำคัญอยู่ที่ความต่อเนื่องครับ. ถ้ายังบังคับตัวเองไม่อยู่ ข้อ 1. ก็เป็นการฝึกบังคับอย่างนึงแล้ว  
ต้องอ่านทุกวัน ไม่มีวันหยุดครับ.

3. ที่ว่า 1 -2 ชม.นั้นต้องรู้ว่าตัวเองเราสามารถรับได้ครั้งละเท่าไรครับ.
อย่างเช่นพี่จะ อ่านวันละ 2 ชม. แต่แบ่ง เป็น 4 ยกครับ. ครั้งละ 25 - 30 นาที  
และพัก 5- 10 นาที

4. อ่านจบวันนึง ๆ ต้องมีสรุปแบบเล่มยาว ๆ เลยนะครับ.
สรุปสั้น ๆ ว่าวันนี้ได้อะไรบ้าง สูตรอะไร ๆ หรือความเข้าใจอะไร

5. ถึงตอนนอนให้นั่งสมาธิซัก 5 นาทีพอรู้สึกใจเริ่มนิ่ง ให้นึกที่เราสรุปไว้ เมื่อกี๊ครับ.
ถ้านึกไม่ออกแสดงว่าสมาธิตอนอ่านหนังสือไม่ดี
ให้เปิดไฟ ลุกออกไปดูที่สรุปใหม่ แล้วนึกใหม่ครับ.

6. ต้องรู้วิธีเรียนในแต่ละวิชาครับ.
เช่น คณิต + ฟิสิกส์ เน้นความเข้าใจเป็นอันดับ 1
เคมี เน้น เข้าใจ + ท่องจำบางอย่าง เช่น ตารางธาตุ ถ้าท่องยังไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจว่ามันจำเป็นต้องจำ  
อังกฤษ เป็นเรื่องทักษะ ต้องใช้บ่อย ๆ ครับ.  
เวลาจะทำอะไรก็นึกเป็นภาษาอังกฤษบ้าง  
เช่นนึกจะทักเพื่อนว่าไปไหน ก็นึกว่า  
where do you go .? อะไรเป็นต้น  
แล้วก็ต้องเข้าใจ เป็นภาษาต่างด้าวยังมีคำหรือสำนวนที่เราไม่เข้าใจอีกเยอะ  
ดังนั้นเรื่องศัพท์ต้องรู้เยอะ ๆ เวลาจะไปดูหนัง Entertain กันทั้งที  
ก็เลือกดูเรื่องที่เขามีแต่ sub title เป็นภาษาอังกฤษ

7. วิธีเรียนพวกวิชาที่ใช้ความเข้าใจ
อันดับแรกต้องรีบศึกษาเนื้อหาทั้งหมดให้จบอย่างรวดเร็วครับ.  
ถามว่าอ่านจากไหน อย่ามองไกลครับ.  
แบบเรียนนั่นล่ะ อย่าเพิ่งไปมองพวกคู่มือ  
ถ้าเราอ่านแบบเรียนไม่รู้เรื่อง ก็อย่าไปหวังจะดูตำราอื่นเลยครับ.  
จากนั้นให้รีบหา แบบฝึกหัด มาทำในแบบเรียนนั่นล่ะให้ได้หมดก่อน  
จากนั้นค่อย เสาะหาตำราคู่มือที่คิดว่าเราดี อ่านแล้วเข้าใจอีกซักเล่มนึงมา  
อ่านเนื้อหาให้หมด อีกที แล้วทำแบบฝึกหัดในเล่มนั้นให้จนหมด.

  
สำคัญคือความตั้งใจนะครับ.  
ต้องเข้าใจว่าเรา มีความรู้ในบทนั้น ๆ จบแล้ว  
ทำไมยังทำโจทย์บางข้อไม่ได้ พยายามคิด  
สุดท้ายไม่ออก ก็ดูเฉลย แล้วต้องตอบตัวเอง  
ให้ได้ว่าเราโง่ตรงไหน ทำไมทำไม่ได้  
โจทย์ข้อนั้น ๆ เป็นเทคนิคเฉพาะหรือเปล่า  
ต่อไป ก็เสาะหาพวกข้อสอบต่าง ๆ มาให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว ก็ ทำ ๆ ๆ จนเกิดรู้สึกว่า  
บรรลุ !!! ในเรื่องนั้น ๆ มันเป็นความรู้สึกคล้าย ๆ สำเร็จเป็นผู้วิเศษอะไรทำนองนั้น หรือฝึกวิทยายุทธสำเร็จแบบนั้น  
มองโจทย์ปุ๊บ จะเกิดความคิด แปร๊บ ๆ ขึ้นมานึกออกทะลุหมด  
เมื่อนั้นรู้สึกแบบนี้เมื่อไร ให้รีบสรุปเนื้อหาบทนั้น ๆ ออกมา  
ในกระดาษขนาดประมาณ 2.5 นิ้ว คูณ 4 - 5 นิ้วครับ.  
ใช้หน้าหลังเขียนให้พอให้ได้ใน 1 บทต่อ 1 แผ่น อาจจะมียกเว้นบางบท  
เช่น สถิติ อาจใช้ถึง 6 แผ่น หรือตรีโกณ 3 แผ่น ส่วนใหญ่ไม่เกินหรอกครับ.  
จากนั้นปาตำราบทนั้น ๆ ทิ้งไปเลยครับ

8. สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำอะไรก็ตามที่
คือ ต้องมีความรู้ติดสมอง สามารถหยิบมาใช้การได้ทันทีครับ. ถ้าคิดจะเรียนเพื่อสอบนั่นก็แสดงว่า  
กำลังคิดผิดอย่างใหญ่หลวงครับ. เด็กสมัยใหมนี้ชอบคิดว่าเรียน ๆ ไปเพื่อสอบ สอบเสร็จก็เลิก  
นั่นเป็นเพราะผลพวงของระบบ แข่งในการศึกษาของไทยเราครับ. เด็กต้องสอบ Entrance เข้าต่อ  
ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกในการใฝ่รู้  
ต้องเข้าใจว่าเราเรียนหนังสือนี่ ต้องถือว่าไม่มีใครมาบังคับเรา  
เราเรียนเพื่อตัวเราเอง เพื่อพัมนาสมองเราเอง พัฒนา มุมมองความคิดต่าง ๆ  
เพื่อให้เราเป็นยอดคนเอง สามารถที่จะพึ่งตัวเองได้ทุกเมื่อ  
ไม่ว่าจะยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองหรือหลุดจากอ้อมแขน บิดามารดาเมื่อไร  
ต้องสามารถที่จะกล้าคิดและทำ พึ่งตัวเอง ยังชีพตัวองในสังคมนี้ได้ครับ.  
ดังนั้น จากข้อ 7. เราต้องบันทึกความรู้ที่เรารู้แล้ว  
ให้เป็นความรู้ยาวนานติดสมอง  
โดยทำดังต่อไปนี้ครับ.
- ให้นึก ! โน๊ตย่อที่เราสรุปเอง อาทิตย์ละหน ติดต่อกัน ซัก 1 เดือนหรือ 4 อาทิตย์
นึกนะครับ . ไม่ใช่เปิดดูถ้านึกไม่ออก แสดงว่าไม่ได้สรุปเองแล้วล่ะเปิดหนังสือ แล้วสรุปตามแหง ๆ  
จากนั้นให้ทิ้งห่างเป็น นึก 1 เดือนต่อครั้ง  
จนเริ่มรู้สึกเบื่อ เพราะนึกทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว
ให้เลิกครับ. ใกล้สอบค่อยว่ากันอีกที  
กระบวนการที่ว่านึกตั้งแต่ 1 อาทิตยืจนเลิกนึกนี่  
คาดว่าไม่ตำกว่า 3 เดือนนะครับ.  
ใครน้อยกว่านี้ แสดงว่าโกหกตัวเองชัวร์

9. กระบวนการสุดท้าย เป็นการเพิ่มพลังความมั่นใจในตัวเองซึ่งต้องกระทำติดต่อกันบ่อยๆ เรื่อยๆ   คือกระบวนการสอบแข่งขันครับ.
ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าเป็นไปได้สอบแข่งซะแต่  
ม.1 จนจบ ม.6 เลย จะทำให้เรารู้อันดับตัวเอง  
เมื่อเทียบกับคนอื่น ๆ ครับ. เช่นเราอาจจะเรียนได้เกรดดี แต่พอสอบแข่ง จริง ๆล่ะ สู้เขาได้ใหม  
ทักษะในการทำข้อสอบ มีใหม  
เข้าห้องก็เดินหน้าลุยทำแต่ข้อแรกยันข้อสุดท้ายเลยหรือเปล่า  
ก็พวก สมาคม โอลิมปิก หรืออะไรก็ตามที ทั้งสอบแข่งในโรงเรียน  
เช่น โรงเรียนจัดเอง หรือสัปดาห์ต่าง เช่น สัปดาห์วันวิทยาศาสตร์  
ภาษาอังกฤษ โคงงงานวิทยาศาตร์ ตอบปัญหาภาษาไทย อังกฤษ ฯลฯ  
สุดท้ายทั้งหมดที่ว่ามา ถ้าน้องคนไหนทำได้นะครับ. ซัก 1 - 2 ปี รู้ผลแน่  
พี่รับรองได้ 100 % เลยว่าอย่างน้อยต้องอยู่ในอันดับ 1 - 3 ของชั้น  แน่นอน อันดับระดับประเทศ ก็ไม่เกิน 50 อย่างมาก

http://blog.eduzones.com

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิธีอ่านหนังสือย่างไรไม่ให้ง่วง

วิธีการหลีกเลี่ยง “มารความง่วง
  1. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่จะนำเราไปสู่การหลับฝันครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนอนอ่านหนังสือหรือนั่งอ่านบนเตียงเนี่ยแหล่ะ 55+ เคยเป็นมั้ยครับนั่งอ่านอยู่แล้วไถลไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นท่านอน แล้วก็หลับคาหนังสือไปในที่สุด 55+  เพราะฉะนั้นเป็นไปได้อยู่ห่างจาก เตียง หมอน โซฟา อะไรที่ให้ความรู้สึกนุ่มๆ เคลิ้มๆ หรือสร้างบรรยากาศถึงการหลับนอนอ่ะครับทิ้งไปให้หมด
  2. อ่านในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เคยเห็นในหนังมั้ยครับที่แบบปิดไฟมืดๆ แล้วเรามานั่งบนโต๊ะ เปิดไฟเหลืองๆ สลัวๆอ่านหนังสือ บางคนคงแบบอย่างนี้อ่ะดีจัดบรรยากาศการอ่านหนังสือให้โรแมนติก 55+ รับรองว่าเราจะได้โรแมนติกกันถึงในฝันแน่นอนครับ เพราะว่าในการอ่านตาของเราต้องการแสงสว่างที่เพียงพอครับ ถ้าอ่านในที่สลัวๆตาของเราจะต้องทำงานหนัก เมื่ออ่านได้สักพักก็จะเกิดอาการเมื่อยล้าของดวงตา จนต้องหลับเพื่อพักสายตาในที่สุด ดังนั้นถ้าอยากอ่านหนังสือได้นานๆ ต้องอ่านในที่สว่างไว้ครับ
  3. step by step ครับ เวลาอ่านหนังสือไปทีละเรื่องอย่าข้ามเรื่องครับ สังเกตุได้จากเวลาเรียนเช่นกันครับ เวลาเราขาดเรียนไปนานๆ พอเข้ามาเรียนแล้วเรียนไม่รู้เรื่องเราก็จะง่วงและหลับลงในที่สุด เพราะงั้นการเรียนและการอ่านเราต้องไปทีละขั้นนะครับ ตามเนื้อหาของมัน จำไว้ครับ ความงงเป็นบ่อเกิดของความง่วงครับ  งงมากก็ง่วงมาก งงน้อยก็ง่วงน้อย ไม่งงเลยก็จะไม่ง่วงเลยครับ
  4. กินแต่พอดีครับ การกินอาหารก่อนการเรียนหรืออ่านหนังสือนี่ก็เกี่ยวนะครับ เราควรกินพอดีๆ ไม่ให้อิ่มมากเกินไป ตามคำกล่าวที่ว่า หนังท้องตึง หนังตาหย่อนครับ ถ้าอิ่มมากๆจะทำให้เราง่วงครับ
  5. พักผ่อนให้เพียงพอด้วยล่ะ เคยรู้สึกมั้ยครับวันไหนที่เรานอนมาเต็มที่ทั้งวันและ จะพยายามนอนอีกเท่าไหร่ก็นอนไม่หลับเพราะร่างกายเรามันพักผ่อนเต็มที่ไปแล้ว เพราะงั้นการพักผ่อนให้เต็มที่ก็เป็นวิธีป้องกันที่ดีอีกทางหนึ่งครับ
  6. อย่าหักโหมให้มากเกินไปครับ ความพอดีอีกแล้วครับ การอ่านหนังสือเนี่ยเราจะต้องใช้สมองไปด้วย แน่นอนว่ายิ่งใช้มากก็จะเหนื่อยล้า เพราะฉะนั้นเราก็ควรมีช่วงเวลาพักครึ่งในการอ่านหนังสือบ้าง แล้วค่อยกลับมาอ่านต่อ วิธีการผ่อนคลายสมองไว้จะมาเล่าในโอกาสหน้านะครับ
จบไปแล้วนะครับสำหรับการป้องกันความง่วงต่อไปในกรณีที่เราป้องกันไม่ทันแล้วล่ะจำทำยังไง??
 
การแก้ไขอาการง่วงนอนขณะอ่านหนังสือหรือเรียน

  1. นั่งหลังตรงครับ เมื่อไหร่ที่เริ่มงอและเริ่มคลานนั่นคืออาการของความง่วงแล้วครับ
  2. หยุดพักสายตาจากการอ่านหนังสือสักพักครับ เงยหน้าขึ้นมามองวิวทิวทัศน์ซักหน่อย
  3. ล้างหน้าล้างตากันสักนิด ออกเดินทางไปห้องน้ำสักหน่อย เป็นไปได้ก็ไปโปเตโต้กันในห้องน้ำนะครับ -*- ลืมตาในน้ำ ลาวกันไป 55+ อื้อช่วยได้ลองดู หลังจากเป็นโปเตโต้กันแล้วเราจะกลายเป็นโมเดินด๊อกกันต่อเลยตาสว่าง 55+ พอๆ ขอโทษครับ อย่าเพิ่งปิดครับ อ่านต่อเถอะ ผมจาไม่เล่นมุขอีกแล้วค๊าบบ เอิ้กๆ
  4. ชวเลขแก้เซง งงอ่าดิ 55+ มันก็คือการ Short note นั่นแหล่ะครับ มันจะช่วยให้เราคิดในสิ่งที่ได้ฟังได้รับและถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ ทำให้เรามีสติในการเรียนการอ่านมากยิ่งขึ้นครับ นอกจากทำให้หายง่วงแล้ว ยังเป็นการทบทวนความรู้ไปในตัวด้วยครับ
  5. ยืดเส้นยืดสายกันดีกว่า ลองวางหนังสือและลุกขึ้นมาเต้นท่าบ้าๆบอๆหน้ากระจกสัก 1 นาทีครับเอาให้เตลิดสุดๆไปเลย หรือไม่จะกระโดดตบหรืออะไรก็ได้ครับ มันจะทำให้ร่างกายของเราหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งออกมา แล้วทำให้เราไม่ง่วง ทดลองดูได้ครับ ก่อนนอนไปวิ่งๆๆๆๆๆ สักหลายๆรอบแล้วมานอนดู เราจะนอนไม่หลับ หรือถ้าจะหลับก็ใช้เวลานานมากๆ
  6. จ้างวานคนแถวนั้น ถ้าเป็นที่โรงเรียนก็เพื่อนๆ ถ้าเป็นบ้านก็พ่อแม่พี่น้อง ให้เค้าคอยดูคอยเรียกด้วยถ้าหลับ ของพวกผมที่อยู่ในห้องเรียนเวลาใครหลับจะตกลงกันเลยให้รุมกัน อั๊ก (ทุบหลัง) ได้เลย 55+ ช่วยได้มากครับ มันจะไม่มีใครกล้าหลับเลย เพราะทุกคนในห้องมันจ้องอยู่ แนวว่า หลับเมื่อไหร่เมิงตาย
  7. นกหวีดช่วยชีวิต  อันนี้ก็ง่ายๆครับ ลุกขึ้นมาเป่านกหวีดปี๊ดดดดด....  ~ดังๆ เอาให้สุดลมหายใจ และให้แสบแก้วหูสุดๆไปเลย ช่วยได้เหมือนกัน
  8. ตะโกนให้กำลังใจตัวเองไปเลยครับ ประกาศให้คนทั่วบริเวณนั้นได้รับรู้ 55+ กุเก่งว้อยยย!!” กุไม่ง่วงหรอกเว้ยยย  ” อีกนิดเดียวจะเสร็จแล้ววู้ยยย  ” สู้เค้าโว้ยย  ” อะไรก็แล้วแต่อ่ะ คิดๆกานขึ้นมา 55+
  9. รับบทนางเอกเจ้าน้ำตาครับ หลังจากวิธีธรรมดามันเอาไม่อยู่ -*- ซาดิสกันขึ้นมาอีกระดับ อันนี้ผมไม่แนะนำให้ทำกันนะครับ แต่บางครั้งสถานการณ์เลวร้าย สอบพรุ่งนี้เรายังไม่ได้อ่านสักตัวเลย วิธีนี้ก็ช่วยได้ ทาถูๆตรงโหนกแก้วต้าอ่ะครับ สักพักจะเกิดอาการเศร้าซึ้ง น้ำตาพรากกันเลยทีเดียว ไม่หลับชัวครับ
  10. แก้ง่วง 5 บาท อันนี้ต้องขอบคุณบทความในเด็กดีครับผมเคยอ่านเจอเค้าบอกให้ไปซื้อน้ำแข็งถุงละ 5 บาทมาใส่กะละมังแล้วเอาเท้าแช่น้ำเย็นๆในนั้นอ่ะครับ ผมเองก็ยังไม่เคยลองเหมือนกันแต่เห้นเค้าว่ามาแบบนี้ใครลองแล้วว่าไงก็มาบอกกันบ้างแล้วกันครับ

  11. ถ้าทั้งหมดนี่ช่วยไม่ได้จริงๆก็ไปนอนสะเถอะครับ ให้เต็มที่ พอมีกำลังวังชาแล้วค่อยมาลุยกันต่อ
เครดิต : http://www.vcharkarn.com/vcafe/146616 

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

7 เทคนิคลัด เทคนิคลับ ในการอ่านหนังสือให้จำ

เพื่อนๆ หลายคนคงจะเคยเจอปัญหาในการอ่านหนังสือมามากมาย เช่น อ่านยังไงก็ไม่จำ ไม่มีสมาธิ ไม่รู้จะเริ่มต้นอ่านตรงไหนก่อน เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะสอบแล้ว ยังอ่านหนังสือได้ไม่ถึงครึ่งเลย ไม่รู้จะวางแผนการอ่านหนังสือยังไงดี ลองเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ดู น่าจะช่วยเพื่อนๆ ได้เยอะจ้า!!
1. ต้องสร้างทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือซะก่อนนะจ๊ะ หากมีทัศนคติที่แย่ๆ ต่อการอ่านหนังสือแล้ว อ่านถึง 10 รอบก็ไม่มีทางจำได้ อ่านเยอะอย่างไรก็ไม่เข้าหัวหรอก
2. เมื่อมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือแล้ว ก็ต้องมาสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือด้วย แรงจูงใจจะเป็นตัวผลักดัน และกระตุ้นให้เพื่อนๆ มีความอยากในการอ่านหนังสือ วิธีการสร้างแรงจูงใจก็คือพยายามคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราอ่านหนังสือสำเร็จ เช่น ถ้าเราตั้งใจอ่านหนังสือและเตรียมความฟิตให้ตัวเองจนพร้อมแล้ว เราก็สามารถตะลุยข้อสอบได้ ผลก็คือได้คะแนนเป็นที่น่าพอใจ จากจุดนี้ก็จะทำให้เพื่อนๆ ได้เกรดสูงๆ หรือไม่ก็ Admissions ติด พ่อ แม่ พี่ น้อง ก็จะดีใจ หรืออาจจะได้รับของขวัญเล็กๆ น้อยๆ จากท่านอีกก็ได้
3. พยายามสรุปเรื่องที่เราอ่านแล้วจำเป็นรูปภาพ ปกติแล้วมนุษย์จะจำเรื่องราวทั้งหมดเป็นรูปภาพ หลายๆ วิชาที่ไม่มีรูปภาพประกอบทำให้เราอ่านแล้วไม่สามารถจินตาการ หรือจดจำได้ ให้เพื่อนๆ สรุปเรื่องที่เราอ่านแล้ว นำมาทำเป็น My map เพื่อเชื่อมโยงในส่วนที่สัมพันธ์กัน และวาดให้เป็นความเข้าใจของตัวเอง จะทำให้จำได้แม่นขึ้น
4. หาเวลาติวให้เพื่อน เป็นวิธีการทบทวนความรู้ไปในตัวได้ดีที่สุด เพราะเราจะสอนออกมาจากความเข้าใจของตัวเราเอง หากติวแล้วเพื่อนที่เราติวให้เข้าใจ ถือว่าเราแตกฉานในความรู้นั้นได้อย่างแท้จริง
5. เน้นการตะลุยโจทย์ให้เยอะๆ พยายามหาข้อสอบย้อนหลังมาทำให้ได้มากที่สุด เพราะการตะลุยโจทย์จะทำให้เราจำได้ง่ายกว่าการอ่านเนื้อหา
6. เตรียมตัว และให้ความสำคัญในการอ่านหนังสือในวิชาที่เราถนัดมากกว่าวิชาที่ดันไม่ขึ้น เพื่อนๆ หลายคนเข้าใจผิด ไปทุ่มเทเวลาให้กับวิชาที่เราไม่ถนัด วิชาไหนที่เราไม่ถนัด ดันยังไงมันก็ไม่ขึ้น เสียเวลาเปล่า เอาเวลาไปทุ่มให้กับวิชาที่เราทำได้ให้ชัวร์ดีกว่า จะได้เอาคะแนนไปถัวเฉลี่ยกับวิชาอื่นๆ แบบนี้เข้าท่ากว่าเยอะนะ
7. สมาธิเป็นสิ่งสำคัญมากในการอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพ ต้องมีสมาธิดี ใครที่สมาธิสั้น จะจำยาก ลืมง่าย ใครสมาธิดี จะจำง่าย ลืมยาก การอ่านหนังสือ ต้องอ่านต่อเนื่องอย่างน้อย ชั่วโมงครึ่ง 30 นาทีแรกจิตใจของเรากำลังฟุ้ง ให้พยายามปรับให้นิ่ง 60 นาทีหลัง ใจนิ่งมีสมาธิแล้ว ก็พร้อมรับสิ่งใหม่ เข้าสู่สมอง ที่สำคัญอย่าเอาขยะมาใส่หัว ห้ามคิดเรื่องพวกนี้ซักพัก เช่น เรื่องหนัง , เกม , แฟน พยายามออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้จิตใจเรานิ่งขึ้น
Credit Eduzones.com

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หนังสือคือประตูสู่โลกกว้าง

ขึ้นชื่อว่าหนังสือเชื่อแน่ว่าคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธหรอกว่า หนังสือคือประตูนำเข้าสู่โลกรู้แจ้งเห็นจริง  ชาวนาผู้หนึ่งอยู่ไกล้โพ้นแห่งมหานครของชาติตน  แต่เขาสามารถรู้หลาย ๆสิ่งหลาย ๆอย่างเกี่ยวกับเมืองหลวงของเขา  หากเขาได้อ่านได้ศึกษาหนังสือเกี่ยวกับมหานครแห่งนั้นหนังสือคือประตูสู่โลกกว้างคือนิยามแห่งสัจจะในยุคโลกาภิวัตน คนแก่คนเก่าท่านเคยอบรมสั่งสอนลูกหลานของท่านว่า ถ้าอยากมีความรู้ ต้องหมั่นอ่านหนังสือหนังหา ถ้าอยากมีวิชาให้หมั่นร่ำหมั่นเรียน จากคำกล่าวนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขอนำเอาคำกล่าวมาแยกชี้แนะให้เข้าใจแจ่มแจ้งแห่งความเป็นไปได้
         คำว่าถ้าอยากมีความรู้ต้องหมั่นอ่านหนังสือหนังหาตามปกติแล้วคนเราไม่ว่าใครก็ตามก็ย่อมรู้จักหนังสือ และเคยอ่านหนังสือ แต่คนเราจะอ่านแต่เพียงหนังสือที่มีอยู่เพียงอย่างเดียวคงไม่พอแน่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่น่าจะนำ ไปสู่โลกกว้างอีกทางหนึ่งก็คือการอ่านหนังหาโดยข้าพเจ้าขอแยกแยะความหมายของคำว่า หนังหาไว้ดังนี้ คือ หนังหาน่าจะมาจากคำว่าหนังสือบวกกับคำว่าแสวงหา”เมื่อหนังสือกับการแสวงหามารวมกันจึงเป็นหนังหา ทีนี้เรามาดูความหมายของคำว่าหนังสือหนังหากัน หนังสือหนังหา หมายถึง หนึงสือที่เราต้องการศึกษา แล้วเราก็แสวงหามา เพื่อความรู้แจ้งเห้นจริงในสิ่งนั้น ๆ นั่นคือเราอยากทราบเรื่องอะไร ก็หาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาอ่านมาศึกษา  แล้วเราก้จะรู้ในสิ่งที่เราต้องการ  การหาหนังสือมาอ่านนั้นทุกวันนี้หาได้ง่ายมาก เช่น ซื้อจากร้าน ขายหนังสือทั่ว ๆไป หรือถ้าไม่มีงบในการซื้อก็ไม่ยาก เพราะทุกวันนี้ห้องสมุดมีเป็นจำนวนมาก หรือหากไม่สามารถ จะกระทำได้ตามที่กล่าว ข้าพเจ้าขอแนะนำแหล่งความรู้อีกแห่งหนึ่งที่เราสามารถจะไปหาได้โดยง่าย คือ คุณครู ที่โรงเรียน เจ้าหน้าที่เกษตร  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตำรวจ ฯลฯ บุคคลที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นแหล่งความรู้ทั้งสิ้น เมื่อเราเข้าถึงท่านได้ หนังสือดี ๆที่ท่านมีอยู่ ท่านคงไม่ปฏิเสธในความต้องการอยากเรียนรู้ของเราแน่ แล้วเราก็จะได้ เป็นผู้ที่ได้อ่านหนังสือหนังหาอย่างแท้จริง
     ส่วนคำว่าถ้าอยากมีวิชาให้หมั่นร่ำหมั่นเรียนตามความหมายก็คือการเรียนเป็นประจำนั่นเอง เมื่อดูตาม ความหมายแล้ว การเรียนหนังสือจึงไม่เพียงแต่การเรียนในห้องเรียนเท่านั้น การเรียนที่ต่อเนื่องและประจำจึงน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการอ่านหนังสือไปในตัวด้วย  ดังเช่นการเรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน การเรียนของเราก็คือการอ่าน นั่นเอง การเรียนโดยการอ่านนั้นเราสามารถทำได้ในหลาย ๆสถานที่เหมือนกัน นอกจากการอ่านที่บ้านแล้ว เราก็สามารถอ่านได้ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่น เราเข้าไปในห้องน้ำห้องส้วมตามสถาบันการศึกา หรือโรงงานต่าง ๆ เชื่อแน่ว่าต้องมีวรรณกรรมตามฝาผนังอย่างแน่นอน วรรณกรรมตามฝาผนังนั้น ทำให้ผู้อ่านได้รู้กว้างเกี่ยวกับจิตใจ ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี  เพราะวรรณกรรมเหล่านี้ จะเขียนจากความรู้สึกจริง ๆของผู้เขียน
     จากที่กล่าวมาข้างต้น ก็พอจะมองให้เราได้เห็นว่า การอ่านหนังสือนั้น ทำให้เราได้รับความรู้และประสบการณ์ ใหม่ ๆ การนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม สิ่งที่เราอ่านแล้วเห็นว่าดี เราก็นำไปประพฤติปฏิบัติ
     สิ่งใดไม่ดีก็หลีกเลี่ยง  การอ่านหนังสือจะมีคุณค่าต่อชีวิตอย่างมากหากเราใช้ ใจอ่านหนังสือ  ใช้ ความคิด วิเคราะห์สิ่งที่อ่าน ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า หนังสือคือประตูสู่โลกกว้าง จึงเป็นคำกล่าวที่ใครจะปฏิเสธไม่ได้
ที่มา http://www.sahavicha.com  นำเสนอโดย : ครูบัวกันต์ วิลามาศ  โรงเรียนบ้านตานวน  สพป.ศรีสะเกษ เขต 4

เทคนิคการอ่านหนังสือ

การอ่าน คือ การรับรู้ความหมายจากถ้อยคำที่ตีพิมพ์อยู่ในสิ่งพิมพ์หรือในหนังสือ เป็นการรับรู้ว่าผู้เขียนคิดอะไรและพูดอะไร โดยเริ่มต้นทำความเข้าใจถ้อยคำแต่ละคำเข้าใจวลี เข้าใจประโยค ซึ่งรวมอยู่ในย่อหน้า เข้าใจแต่ละย่อหน้า ซึ่งรวมเป็นเรื่องราวเดียวกัน การอ่านเป็นการบริโภคคำที่ถูกเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือหรือสัญลักษณ์ การอ่านโดยหลักวิทยาศาสตร์ เริ่มจากการที่แสงตกกระทบที่สื่อ และสะท้อนจากตัวหนังสือผ่านทางเลนส์นัยน์ตา และประสาทตาเข้าสู่เซลล์สมองไปเป็นความคิด (Idea) ความรับรู้ (Perception) และก่อให้เกิดความจำ (Memory) ทั้งความจำระยะสั้น และความจำระยะยาว

กระบวนการอ่าน มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก การอ่านออก อ่านได้ หรืออ่านออกเสียงได้ถูกต้อง ขั้นที่สองการอ่านแล้วเข้าใจ ความหมายของคำ วลี ประโยค สรุปความได้ ขั้นที่สามการอ่านแล้วรู้จักใช้ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์และออกความเห็นในทางที่ขัดแย้งหรือเห็นด้วยกับผู้เขียนอย่างมีเหตุผล และขั้นสุดท้ายคือการอ่านเพื่อนำไปใช้ ประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้นผู้ที่อ่านได้และอ่านเป็นจะต้องใช้กระบวนการทั้งหมดในการอ่านที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการถ่ายทอดความหมายจากตัวอักษรออกมาเป็นความคิด และจากการคิดที่ได้จากการอ่านผสมผสานกับประสบการณ์เดิม และสามารถความคิดนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไป
1. คุณค่าของการอ่าน
2. การเตรียมพร้อมเพื่อการอ่าน
3. การเลือกสรรวัสดุการอ่าน
4. การกำหนดจุดมุ่งหมายการอ่าน
5. วิธีการอ่านที่เหมาะสม
คุณค่าของการอ่าน 
วัตถุประสงค์ในการอ่านของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันออกไป เช่น อ่านเพื่อความรู้ อ่านเพื่อให้เกิดความคิด อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน อ่านเพื่อความจรรโลงใจ เป็นต้น ซึ่งผู้อ่านจำเป็นต้องทราบจุดมุ่งหมายของการอ่านนั้นๆ ไว้ก่อนการอ่านทุกครั้ง อย่างไรก็ตามการอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการช่วยให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน การอ่านมีความจำเป็นต่อการศึกษาเล่าเรียน ทั้งในระบบและนอกระบบ คนที่เรียนหนังสือเก่งมักจะเป็นคนที่อ่านหนังสือเก่ง เพราะการอ่านช่วยให้ได้รับความรู้และความเข้าใจที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงได้ การอ่านมีคุณค่าต่อมนุษย์ เนื่องจากเป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เกิดความรู้ ยกระดับสติปัญญาให้สูงขึ้น ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาความคิดให้ก้าวหน้า ส่งผลต่อการพัฒนาในอาชีพ ทำให้มนุษย์ทันต่อเหตุการณ์ ได้รับความรู้เพิ่ม ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ ช่วยพัฒนาจิตใจให้งอกงาม ช่วยขจัดความทุกข์ ความเศร้าหมอง การอ่านทำให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือในการอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้รับความเพลิดเพล
การเตรียมพร้อมเพื่อการอ่าน 
การอ่านจะดำเนินไปได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และองค์ประกอบที่อยู่ภายในร่างกาย การอ่านท่ามกลางบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะนำมาซึ่งประสิทธิและประสิทธิผลในการอ่าน ทั้งนี้ควรคำนึงถึง
1.การจัดสถานที่และสิ่งแวดล้อม สถานที่ที่เหมาะกับการอ่านควรมีความเงียบสงบ ตัดสิ่งต่างๆ ที่รบกวนสมาธิออกไป มีอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะสม มีโต๊ะที่มีความสูงพอเหมาะและเก้าอี้ที่นั่งสบายไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป 
2.การจัดท่าของการอ่าน ตำแหน่งของหนังสือควรอยู่ห่างประมาณ 35-45 เซนติเมตร และหน้าหนังสือจะต้องตรงอยู่กลางสายตา ควรนั่งให้หลังตรงไม่ควรนอนอ่าน ทั้งนี้เพื่อให้สมองได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงอย่างเต็มที่ ก็จะทำให้เกิดการตื่นตัวต่อการรับรู้ จดจำ และอ่านได้นาน
3.การจัดอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน การอ่านอาจมีอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น กระดาษสำหรับบันทึกดินสอ ปากกา ดินสอสี
4.การจัดเวลาที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาที่ต้องมีการทบทวนบทเรียนควรอ่านหนังสือในช่วงที่เหมาะสมคือช่วงที่ที่ไม่ดึกมาก คือ ตั้งแต่ 20.00 - 23.00 น. เนื่องจากร่างกายยังไม่อ่อนล้าเกินไปนัก หรืออ่านในตอนเช้า 5.00-6.30 น. หลังจากที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ในการอ่านแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 50 นาทีและให้เปลี่ยนแปลงอิริยาบถสัก 10 นาทีก่อนลงมืออ่านต่อไป
5. การเตรียมตนเอง ได้แก่ การทำจิตใจให้แจ่มใส มีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจ และมีสมาธิในการอ่าน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ มีสุขภาพสายตาที่ดี ตัดปัญหารบกวนจิตใจให้หมด การแบ่งเวลาให้ถูกต้อง และมีระเบียบวินัยในชีวิตโดยให้เวลาแต่ละวันฝึกอ่านหนังสือ และพยายามฝึกทักษะใหม่ๆ ในการอ่าน เช่น ทักษะการอ่านเร็วอย่างเข้าใจ เป็นต้น
การเลือกสรรวัสดุการอ่าน
การเลือกสรรวัสดุการอ่าน ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการอ่าน เช่น การอ่านเพื่อการศึกษา การอ่านเพื่อหาข้อมูลประกอบการทำงาน การอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน การอ่านเพื่อฆ่าเวลา การรู้จักเลือกวัสดุการอ่านที่มีประโยชน์จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์ตามเป้าหมาย การเลือกสรรวัสดุการอ่านมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ทรัพยากรสารนิเทศในห้องสมุด เช่น
1.     การอ่านเพื่อความรู้ เช่น ตำราวิชาการ
2.     การอ่านเพื่อความบันเทิงใจ
3.     การอ่านเพื่อเป็นกำลังใจ เสริมสร้างปัญญา เช่น หนังสือจิตวิทยา หนังสือธรรมะ
4.     การอ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
เมื่อเลือกวัสดุการอ่านหรือหนังสือได้แล้ว ก็จะต้องกำหนดว่าต้องการอะไรข้อมูลในลักษณะใดจากหนังสือเล่มนั้น ขอบเขตของข้อมูลในลักษณะกว้างหรือแคบแต่ลึกซึ้ง ทั้งนี้เพื่อกำหนดรูปแบบการอ่านเพื่อความต้องการต่อไ
การกำหนดจุดมุ่งหมายการอ่าน
การรู้ความมุ่งหมายในการอ่านเปรียบเหมือนการรู้จุดหมายปลายทางของการเดินทาง ทำให้สามารถเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ต่างๆ และเดินทางไปสู่ที่หมายได้ นักอ่านที่ดีควรมีจุดมุ่งหมายว่าต้องการอ่านเพื่ออะไร เพื่อจะได้กำหนดวิธีอ่านได้เหมาะสม การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้าและทำรายงาน มีจุดมุ่งหมายดังนี้
1. อ่านเพื่อความรู้พื้นฐาน เป็นการอ่านเพื่อรู้เรื่องโดยสังเขป หรือเพื่อลักษณะของหนังสือ เช่น การอ่านเพื่อ รวบรวมสิ่งพิมพ์ที่จะใช้ในการค้นคว้าและเขียนรายงาน
2. อ่านเพื่อรวบรวมข้อมูล เป็นการอ่านให้เข้าในเนื้อหาสาระ และจัดลำดับความคิดได้ เพื่อสามารถรวบรวม และบันทึกข้อมูลสำหรับเขียนรายงาน
3. อ่านเพื่อหาแนวคิด หมายถึง การอ่านเพื่อรู้ว่าสิ่งที่อ่านนั้นมีแนวคิดหรือสาระสำคัญอย่างไร จะนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ในลักษณะใด เช่น การอ่านบทความ และสารคดีเพื่อหาหัวข้อสำหรับเขียนโครงร่างรายงาน
4. อ่านเพื่อวิเคราะห์หรือวิจารณ์ คือการอ่านเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งพอที่จะนำความรู้ไปใช้ หรือแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องที่อ่านได้ เช่น การอ่านบทความที่แสดงความคิดเห็น การอ่านตารางและรายงาน
วิธีการอ่านที่เหมาะสม
การอ่านมีหลายระดับและมีวิธีการต่างๆ ตามความมุ่งหมายของผู้อ่าน และประเภทของสื่อการอ่าน การอ่านเพื่อการศึกษา ค้นคว้าและเขียนรายงาน อาจใช้วิธีอ่านต่าง ๆ เช่น การอ่านสำรวจ การอ่านข้าม การอ่านผ่าน การอ่านจับประเด็น การอ่านสรุปความ และการอ่านวิเคราะห์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.การอ่านสำรวจ คือ การอ่านข้อเขียนอย่างรวดเร็ว เพื่อรู้ลักษณะโครงสร้างของข้อเขียน สำนวนภาษา เนื้อเรื่องโดยสังเขป เป็นวิธีอ่านที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเลือกสรรสิ่งพิมพ์ สำหรับใช้ประกอบการค้นคว้า หรือการหาแนวเรื่องสำหรับเขียนรายงาน และรวบรวมบรรณานุกรมในหัวข้อที่เขียนรายงาน 
2.การอ่านข้าม เป็นวิธีอ่านอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าใจเนื้อหาของข้อเขียน โดยเลือกอ่านข้อความบางตอน เช่น การอ่านคำนำ สาระสังเขป บทสรุป และการอ่านเนื้อหาเฉพาะตอนที่ตรงกับความต้องการ เป็นต้น 
3.การอ่านผ่าน เป็นการอ่านแบบกวาดสายตา (Scanning Reading) โดยผู้อ่านจะทำการกวาดสายตาอย่างรวดเร็วไปยังสิ่งที่เป็นเป้าหมายในข้อเขียน เช่น คำสำคัญ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ แล้วอ่านรายละเอียดเฉพาะที่เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการ เช่น การอ่านเพื่อค้นหาชื่อในพจนานุกรม และการอ่านแผนที่ 
4.การอ่านจับประเด็น หมายถึง การอ่านเรื่องหรือข้อเขียนโดยทำความเข้าใจสาระสำคัญในขณะที่อ่าน มักใช้ในการอ่านข้อเขียนที่ไม่ยาวนัก เช่น บทความ การอ่านเร็วๆ หลายครั้งจะช่วยให้จับประเด็นได้ โดยการอ่านมีเทคนิคคือ ต้องสังเกตคำสำคัญ ประโยคสำคัญที่มีคำสำคัญ และทำการย่อสรุปบันทึกประโยคสำคัญไว้ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป 
5.การอ่านสรุปความ หมายถึง การอ่านโดยสามารถตีความหมายสิ่งที่อ่านได้ถูกต้องชัดเจนเข้าใจเรื่องอย่างดี สามารถแยกส่วนที่สำคัญหรือไม่สำคัญออกจากกัน รู้ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น ส่วนใดเป็นความคิดหลัก ความคิดรอง การอ่านสรุป ความมีสองลักษณะคือ การสรุปแต่ละย่อหน้าหรือแต่ละตอน และสรุปจากทั้งเรื่อง หรือทั้งบท การอ่านสรุปความควรอย่างอย่างคร่าว ๆ ครั้งหนึ่งพอให้รู้เรื่อง แล้วอ่านละเอียดอีกครั้งเพื่อเข้าใจเรื่องอย่างดี หลักจากนั้นตั้งคำถามตนเองในเรื่องที่อ่านว่าเกี่ยวกับอะไร มีเรื่องราวอย่างไร แล้วเรียบเรียงเนื้อหาเป็นสำนวนภาษาของผู้สรุป 
6.การอ่านวิเคราะห์ การอ่านเพื่อค้นคว้าและเขียนรายงานโดยทั่วไปต้องมีการวิเคราะห์ความหมายของข้อความ ทั้งนี้เพราะผู้เขียนอาจใช้คำและสำนวนภาษาในลักษณะต่าง ๆ อาจเป็นภาษาโดยตรงมีความชัดเจนเข้าใจง่าย ภาษาโดยนัยที่ต้องทำความเข้าใจ และภาษาที่มีความหมายตามอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียน ผู้อ่านที่มีความรู้เรื่องคำศัพท์และสำนวนภาษาดี มีประสบการณ์ ในการ อ่านมากและมีสมาธิในการอ่านดี ย่อมสามารถวิเคราะห์ได้ตรงความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อ และสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดี
ที่มา: http://www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=644506